สวัสดีทุกคนนะครับ นี่ก็ครั้งแรกของผมด้วย ไม่รู้จะเริ่มเขียนอย่างไรดี เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับหมวกอูชานก้ามาให้ได้อ่านกันนะครับ เอาเป็นว่าไปอ่านกันเลย >>
อูชานก้าเป็นหมวกของชาวรัสเซียที่สามารถพับส่วนหูได้ โดยสามารถพับขึ้นไปผูกไว้ด้านบนเมื่ออากาศไม่หนาวมากและพับลงด้านล่างผูกยึดไว้กับคางเพื่อป้องกันส่วนหูจากอากาศหนาวจัด โดยขนที่หนาจะให้ความอบอุ่นกับศีรษะได้ดี
วัสดุที่ใช้ผลิต
หมวกอูชานก้ามักจะมีราคาแพงเพราะผลิตมาจากขนของเจ้าสัตว์ต่อไปนี้
ขนแกะ
ขนกระต่าย
ขนหนูมัสคแร็ค
ขนเทียม (ราคาถูกกว่า)
นอกจากขนเทียมที่ใช้แทนขนสัตว์แล้วยังมีผ้ากำมะหยี่ซึ่งทำง่ายกว่ามาก ชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่บริเวณอาร์กติกจะนิยมใช้อูชานก้าที่ผลิตจากขนมิงค์ ซึ่งจะช่วยป้องกันหูและคางของพวกเขาจากอากาศที่หนาวจัดได้ (-40 ถึง -70 องศาเซลเซียส)
ประวัติความเป็นมา
หมวกขนสัตว์ปิดหูมีทั้งใน รัสเซีย, ยูเครน, เซอร์เบีย, สโลวีเนีย, โครเอเชีย, มาซิโตเนีย, บัลแกเรีย และเยอรมนี มาหลายศตวรรษแล้ว อูชานก้ามาตรฐานได้มีการพัฒนาในศตวรรษที่ 20 ในช่วงสงครามกลางเมืองของรัสเซีย ผู้ปกครองของไซบีเรีย Alexander Kolchak ได้แนะนำหมวกเครื่องแบบฤดูหนาวที่เรียกกันว่า Kolchakovka ซึ่งมีลักษณะเหมือนอูชานก้าแต่พับหน้าได้มาใช้
ในช่วงสงครามฤดูหนาวกับฟินแลนด์และทหารโซเวียตไม่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอ ทำให้ล้มตายเนื่องจากความหนาวเย็นกันเป็นจำนวนมาก แต่ทหารฟินแลนด์นั่นมีอุปกรณ์ที่ดีกว่านั่นก็คือ หมวกอูชานก้า
หลังจากสงครามฤดูหนาว กองทัพแดงได้พัฒนาเครื่องแบบใหม่หมด และได้เปลี่ยนหมวกแบบเก่ามาเป็นอูชานก้าตามแบบฟินแลนด์ด้วย แต่ปัจจุบันหมวกอูชานก้าได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสหภาพโวเวียตไปแล้ว ในปี 1974 ประธานาธิบดี Gerald Ford ประธานาธิบดีของอเมริกาในเวลานั้น ได้ไปเยือนกรุงมอสโควโดยสวมอูชานก้าไปด้วย
ในปัจจุบัน
ยึดตามกฎของโซเวียตและตามสนธิสัญญาวอร์ซอนั้น ได้กำหนดให้อูชานก้าเป็นเดรื่องแบบของทหาร ตำรวจของแคนาดา, สหรัฐอเมริกา และประเทศตะวันตกที่มีอากาศหนาวเย็น ในปี 2013 กองทัพรัสเซียได้ประกาศว่า อูชานก้าถูกใช้ให้เป็นหมวกใหม่ประจำกองทัพ
ในประเทศจีนก็มีหมวกที่คล้ายกับอูชานก้าเหมือนกัน แต่มีชื่อเรียกว่า "เหลยเฟิง"
...................................................................................................................................................................
จบแล้วครับ สงสัยอะไรคอมเม้นต์ได้เลยนะ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะครับ <<
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น